วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555


จิตวิทยาการเรียนการสอน

 ครูเปรียบเสมือนศิลปินที่ปั้นรูป  เพราะครูทุกคนมีส่วนในการพัฒนาบุคลิกภาพของนักเรียน แต่ผลงานของครูไม่เหมือนกับปฏิมากรที่พองานแต่ละชิ้นสำเร็จก็เห็นผลงาน อาจจะตั้งให้ชมได้  หรือถ้าไม่ชอบอาจจะแก้ไขเพิ่มเติมได้  ส่วนครูนั้นจะต้องรอจนนักเรียนกลับมาบอกครูว่าครูได้ช่วยเขาอย่างไร  หรือมีอิทธิพลต่อชีวิตเขาอย่างไร  และบางครั้งการรอก็เป็นการเสียเวลาเปล่าเพราะแม้ว่านักเรียนบางคนจะคิดถึงความดีของครู แต่ก็คิดอยู่ในใจไม่แสดงออก จึงทำให้คนทั่วไปรู้สึกว่าอาชีพครูเหมือนเรือจ้างที่มีหน้าที่ส่งคนข้ามฟากเท่านั้น ซึ่งเป็นเครื่องชี้ถึงทัศนคติทางลบที่มีต่ออาชีพครูจึงมีส่วนทำให้คนบางคนตัดสินใจเลือกอาชีพครูเป็นอาชีพสุดท้าย
ความสำคัญของจิตวิทยาต่อวิชาชีพครู

การเป็นครูที่ดีและมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งที่ครูทุกคนปรารถนา แต่มักจะคิดกันว่ายากที่จะทำได้ บางคนคิดว่าการเป็นครูที่ดีมีประสิทธิภาพนั้นจะต้องมีพรสวรรค์ หรือเกิดมาด้วยความเป็นครูอยู่ในตัว ที่จริงแล้วถ้าหากครูมีความรักอาชีพครู รักนักเรียน และอยากจะช่วยเหลือนักเรียน  การเป็นครูที่ดีและมีประสิทธิภาพย่อมเป็นไปได้สำหรับทุกคน
ลักษณะของครูที่ดีและมีประสิทธิภาพ
เป็นครูที่สอนให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ ให้เวลาแก่นักเรียนแต่ละคนได้เรียนรู้โดยพิจารณาความแตกต่างของบุคคล และวิชาที่สอน บางคนต้องการเวลามากแต่บางคนต้องการเวลาน้อย ซึ่งขึ้นกับวิชาที่ครูสอน รวมทั้งจัดกิจกรรมและ ประสบการณ์เพื่อจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้

โดยสรุป ครูสามารถสอนอย่างมีประสิทธิภาพ หมายถึงการสอนของครูที่สามารถให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามความถนัดและความสามารถของทุกคน เนื่องจากการศึกษามีบทบาทสำคัญในการช่วยให้เยาวชนพัฒนาการทั้งทางด้านเชาวน์ปัญญา และทางบุคลิกภาพ  เพื่อช่วยให้เยาวชนมีความสำเร็จในชีวิต  ทุกประเทศจึงหาทางส่งเสริมการศึกษา ให้มีคุณภาพ  มีมาตรฐานความเป็นเลิศ  ความรู้เกี่ยวกับจิตวิทยาการศึกษาจึงมีสำคัญในการช่วยทั้งครูและนักการศึกษาผู้มีความรับผิดชอบในการปรับปรุงหลักสูตรและการเรียนการสอน
จิตวิทยาการเรียนรู้
                การเรียนรู้เกิดจากการรับรู้ของระบบประสาท และการแปลรหัสการรับรู้ให้สมองสั่งการ ความรู้สึกใดที่สมองได้บันทึกและจดจำไว้จะเรียกว่าประสบการณ์ เมื่ออวัยวะสัมผัสต่อสิ่งเดิมอีกจะเกิดการระลึกได้องค์ประกอบของการเรียนรู้
                1. สติปัญญาของผู้รับรู้ ถ้าสติปัญญาดีจะเรียนรู้ได้เร็ว
                2. ความตั้งใจในกิจกรรมที่ผู้รับรู้สัมผัส
                3. ความสนใจ การมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งนั้น
                4. สภาพจิตใจของผู้รับรู้ในขณะนั้น
พฤติกรรมการเรียนรู้  จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ
1. พุทธนิยม หมายถึง การเรียนรู้ในด้านความรู้ ความเข้าใจ
                2. จิตพิสัย หมายถึง การเรียนรู้ด้านทัศนคติ ค่านิยม ความซาบซึ้ง
                3. ทักษะพิสัย หมายถึง การเรียนรู้เกี่ยวกับการกระทำหรือปฏิบัติงานการเรียนรู้กับการเรียน

จิตวิทยาการรับรู้การเรียนรู้และจิตวิทยาพัฒนาการการรับรู้
เป็นกระบวนการแปลความหมายระหว่างประสาทสัมผัสกับระบบประสาทของมนุษย์ ที่ใช้อวัยวะรับสัมผัสสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ทำให้ส่วนของประสาทสัมผัสในอวัยวะนั้น ส่งผลเชื่อมโยงไปยังสมอง และสมองจะถอดรหัสนั้นไปยังระบบประสาท ทำให้เกิดการรับรู้และรู้สึกจิตวิทยาการรับรู้ เป็นเหตุการณ์ความรู้สึกที่เป็นผลจากกิจกรรมของเซลล์สมอง เป็นลักษณะหนึ่งของจิตแต่ไม่ใช่จิตทั้งหมด
                จิตวิทยาการเรียนรู้ การเรียนรู้เกิดจากการรับรู้ของระบบประสาท และการแปลรหัสการรับรู้ให้สมองสั่งการ ความรู้สึกใดที่สมองได้บันทึกและจดจำไว้จะเรียกว่าประสบการณ์ เมื่ออวัยวะสัมผัสต่อสิ่งเดิมอีกจะเกิดการระลึกได้องค์ประกอบของการเรียนรู้
  ลักษณะของครูที่ดี
  การเป็นครูที่ "ดี" นั้น ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติต่าง ๆ หลายประการ ถ้ากล่าวถึงครูดีตามแนวความคิดของผู้เรียน ทางช่างอุตสาหกรรมแล้ว ดังเช่น แสงเดือน (2530) ได้สรุปคุณสมบัติของครูช่างอุตสาหกรรมที่ดีไว้ 9 ประการ ดังนี้
1. ปรับปรุงการเรียนการสอนให้ทันสมัยและเหมาะสมอยู่เสมอ
2. มีความปรารถนาที่จะช่วยเหลือผู้เรียนให้ประสบความสำเร็จในทุกด้าน
3. มีบุคลิกภาพที่ดี
4. มีความรู้ความชำนาญในงานที่สอน
5. มีความอดทน
6. มีลักษณะซึ่งผู้เรียนให้ความไว้วางใจ
7. มีความกระตือรือร้นในการถ่ายทอดความรู้
8. มีความจริงใจ
9. มีลักษณะเป็นผู้นำ

ประโยชน์ของจิตวิทยาการศึกษามีดังต่อไปนี้
1. ช่วยให้ผู้สอนสามารถเข้าใจตนเอง พิจารณา ตรวจสอบตนเอง ทั้งในด้านดีและข้อบกพร่อง รวมทั้งความสนใจ ความต้องการ ความสามารถ ซึ่งจะทำให้สามารถคิด และตัดสินใจกระทำสิ่งต่าง ๆได้อย่างเหมาะสม
2. ช่วยให้ผู้สอน เข้าใจทฤษฎีวิธีการใหม่ ๆ และสามารถนำความรู้เหล่านั้น มาจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตลอดจนนำเทคนิคการใช้ได้เหมาะสมและเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง เช่นใน การเรียนสิ่งที่เป็นนามธรรมผู้สอนจำเป็นต้องใช้วัสดุอุปกรณ์เพื่อประกอบการสอนเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น
3.ช่วยให้ผู้สอนเข้าใจธรรมชาติความเจริญเติบโตของผู้เรียนและสามารถจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสม กับธรรมชาติ ความต้องการ ความสนใจ ของผู้เรียนแต่ละวัยได้
4. ช่วยให้ผู้สอน เข้าใจ และสามารถเตรียมบทเรียน วิธีสอน วิธีจัดกิจกรรมตลอดจนวิธีการวัดผล ประเมินผลการศึกษา ให้สอดคล้องกับความเจริญเติบโตของผู้เรียน ตามหลักการ
5. ช่วยให้ผู้สอน รู้จักวิธีการศึกษาผู้เรียนเป็นรายบุคคล เพื่อหาทางช่วยเหลือแก้ปัญหา และส่งเสริมพัฒนาการของผู้เรียนให้เป็นไปอย่างดีที่สุด
6.ช่วยให้ผู้สอนมีสัมพันธ์ภาพที่ดีกับผู้เรียนมีความเข้าใจและสามารถทำงานกับผู้เรียนได้อย่างราบรื่น
7. ช่วยให้ผู้บริหารการศึกษา ได้วางแผนการศึกษา การจัดหลักสูตร อุปกรณ์การสอน และการบริหารได้อย่างถูกต้อง
8.ช่วยให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้ดีรู้จักจิตใจคนอื่นรู้ความต้องการความสนใจและปรับตัวให้เข้ากับลักษณะเหล่านั้นได้ก็จะทำให้เราสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างปกติสุข